หน้าแรก
BRING IMAGINARY TO REAL SUCCESS
เมนูหลัก
โปรแกรมบัญชี, ERP, MRP
- Forma
- MRP
- Formula
- Formula Job Cost
- mForma
- Formula Winning
- Autoflight

โปรแกรมเงินเดือน
- Forma HRM
- Formula HRM
- Formula Payroll+TA
- Formula PayRoll
- Slip เงินเดือน
- FingerScan, เครื่องทาบบัตร

โปรแกรมบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (CRM)
- Mobile CRM Solution
- Formula CRM
- CONNECT-U (SMS)

บริการ
- IT Support
- Maintenance Support
- Network Infrastructure

บริษัท

- ลูกค้าของเรา
- เกี่ยวกับเรา
- ติดต่อเรา
- สมัครงาน
- บทความ
- Event
- News
FORMA FORMULA PayRoll online pharmacy without prescription Accounting CRM FingerScan Consult
News: Program HR News :มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ
ติดประกาศ Saturday 05 Jul 08@ 16:31:06 ICT โดย JENA
Newsข่าวกระทรวงการคลัง
ฉบับที่ 14 /2551
วันที่ 4 มีนาคม 2551

มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ
__________________________________

ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของกระทรวงการคลังเกี่ยวกับมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ ซึ่งสอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐบาลที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ โดยการเร่งฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจให้มีความเข้มแข็ง แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคม พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและส่งเสริมผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตลอดจนกระตุ้นการลงทุนและการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศให้มากขึ้น อันจะนำไปสู่ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

1. มาตรการภาษีเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนและช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคม

เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนและส่งเสริมการออมของภาคครัวเรือน ตลอดจนช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคม กระทรวงการคลังเห็นควรกำหนดมาตรการภาษีซึ่งเป็นการขยายเพิ่มเติมจากมาตรการเดิมที่ได้เคยดำเนินการมาแล้ว ดังต่อไปนี้

1.1 ปรับเพิ่มเงินได้สุทธิที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากเดิมที่กำหนดไว้ 100,000 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 150,000 บาท

1.2 ปรับเพิ่มวงเงินการยกเว้นและการหักค่าลดหย่อนเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิต จากเดิมที่กำหนดไว้ 50,000 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 100,000 บาท

1.3 ปรับเพิ่มวงเงินการหักค่าลดหย่อนเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือเงินสมทบเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน จากเดิมที่กำหนดไว้ไม่เกิน 300,000 บาท เพิ่มขึ้นเป็นไม่เกิน 500,000 บาท โดยเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเมื่อรวมกับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือเงินสมทบเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

1.4 ปรับเพิ่มวงเงินการหักค่าลดหย่อนเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว จากเดิมที่กำหนดไว้ไม่เกิน 300,000 บาท เพิ่มขึ้นเป็นไม่เกิน 500,000 บาท

มาตรการข้อ 1.1-1.4 ให้มีผลใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในปี พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป

1.5 เพิ่มการหักค่าลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคู่สมรส บิดา มารดา บุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้หรือคู่สมรส ซึ่งเป็นคนพิการที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้และมีบัตรประจำตัวคนพิการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 โดยให้หักได้ 30,000 บาท ต่อคนพิการ ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในปีที่กฎหมายมีผลใช้บังคับเป็นต้นไป



2. มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

เพื่อพัฒนากลุ่มผู้ประกอบการที่เป็นรากฐานสำคัญของระบบเศรษฐกิจ ซึ่งรวมถึงวิสาหกิจชุมชนและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กระทรวงการคลังเห็นควรกำหนดมาตรการภาษี ดังต่อไปนี้

2.1 ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแก่ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล ซึ่งเป็นวิสาหกิจชุมชนตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ.2548 และมีเงินได้พึงประเมินไม่เกิน 1,200,000 บาท ต่อปี ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 ถึง พ.ศ. 2553

2.2 ปรับปรุงอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท จากเดิมที่จัดเก็บในอัตราก้าวหน้า โดยกำไรสุทธิในส่วน 1,000,000 บาทแรก จัดเก็บในอัตราร้อยละ 15 กำไรสุทธิในส่วนที่เกิน 1,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 3,000,000 บาท จัดเก็บในอัตราร้อยละ 25 และกำไรสุทธิในส่วนที่เกิน 3,000,000 บาท จัดเก็บในอัตราร้อยละ 30 เป็นการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับกำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 150,000 บาท และสำหรับกำไรสุทธิในส่วนที่เหลือให้คงจัดเก็บในอัตราเดิม ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับสำหรับกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีซึ่งเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป

3. มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเอกชนไทย

เพื่อเร่งกระตุ้นการลงทุนของภาคเอกชนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอันจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างต่อเนื่อง กระทรวงการคลังเห็นควรกำหนดมาตรการภาษีทั้งที่เป็นการขยายเพิ่มเติมจากมาตรการเดิมที่ได้เคยดำเนินการมาแล้วและมาตรการภาษีใหม่ ดังต่อไปนี้

3.1 ให้บุคคลธรรมดา และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถหักค่าใช้จ่ายเพื่อการได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทเครื่องจักร อุปกรณ์หรือวัสดุที่มีผลต่อการประหยัดพลังงานโดยรวมค่าติดตั้ง ได้ 1.25 เท่าของค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ ทรัพย์สินจะต้องได้มาและพร้อมใช้งานได้ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553

3.2 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นของทรัพย์สินประเภทเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ผลิตสินค้าหรือให้บริการ ในวันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาในอัตราร้อยละ 40 ของมูลค่าต้นทุน สำหรับมูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือให้หักตามอัตราปกติ ทั้งนี้ ทรัพย์สินจะต้องได้มาและพร้อมใช้งานได้ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553

3.3 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินประเภทโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ได้ภายในเวลา 3 รอบระยะเวลาบัญชี นับแต่วันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมา

3.4 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทรัพย์สินถาวรไม่รวมที่ดินไม่เกิน 200 ล้านบาท และจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน สามารถหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นของทรัพย์สินประเภทโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในวันที่ได้ทรัพย์สินมาในอัตราร้อยละ 40 ของมูลค่าต้นทุน สำหรับมูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือให้หักภายใน 3 รอบระยะเวลาบัญชี นับแต่วันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมา

3.5 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทรัพย์สินถาวรไม่รวมที่ดินไม่เกิน 200 ล้านบาท และจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน สามารถเลือกหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินได้ในอัตราร้อยละ 100 ของมูลค่าต้นทุน โดยมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินดังกล่าวรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาทในหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ทั้งนี้ ใช้สำหรับทรัพย์สินตามมาตรา 4 (5) ของพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 โดยทรัพย์สินจะต้องได้มาและพร้อมใช้งานได้ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553

3.6 ให้ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับบริษัทที่นำหลักทรัพย์เข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้

(1) ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล จากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิสำหรับบริษัทที่จดทะเบียนเข้าใหม่เป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (MAI) ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็นเวลา 3 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกันนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่เริ่มในหรือหลังวันที่บริษัทได้จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ

(2) ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล จากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิสำหรับบริษัทที่จดทะเบียนเข้าใหม่เป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ (SET) ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็นเวลา 3 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน

ทั้งนี้ บริษัทต้องยื่นคำขอจดทะเบียนหลักทรัพย์กับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 31ธันวาคม พ.ศ. 2551 และได้รับการจดทะเบียนหลักทรัพย์ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552

3.7 ให้ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้

(1) ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล จากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิสำหรับบริษัทที่เป็นบริษัทจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (MAI) ทั้งนี้ เฉพาะกำไรสุทธิในส่วนที่ไม่เกิน 20 ล้านบาท เป็นเวลา 3 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกันนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551

(2) ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล จากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิสำหรับบริษัทที่เป็นบริษัทจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SET) ทั้งนี้ เฉพาะกำไรสุทธิในส่วนที่ไม่เกิน 300 ล้านบาท เป็นเวลา 3 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน นับแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551

3.8 ให้ลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะ จากเดิมที่กำหนดไว้อัตราร้อยละ 3 เป็นอัตราร้อยละ 0.1 สำหรับรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ จากกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ทั้งนี้ เฉพาะการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ได้กระทำภายใน 1 ปี นับจากวันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับ

3.9 ให้กระทรวงมหาดไทยลดการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนการโอนและค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์และห้องชุดไปพร้อมกันด้วยกับการลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะ ทั้งนี้ เพื่อความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ สนับสนุนให้มีการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ให้มากยิ่งขึ้นซึ่งจะทำให้การประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ฟื้นตัวเร็วขึ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้

(1) ให้เรียกเก็บค่าจดทะเบียนการโอนและค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์ ร้อยละ 0.01 สำหรับกรณีสนับสนุนการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ดังต่อไปนี้

(ก) เป็นที่ดิน อาคาร หรืออาคารพร้อมที่ดิน ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน หรือที่ดำเนินการจัดสรรที่ดินโดยทางราชการหรือองค์การของรัฐบาลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ทำการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย และ
(ข) เป็นอาคารประเภทดังต่อไปนี้
- บ้านเดี่ยว
- บ้านแฝด
- บ้านแถว
- อาคารพาณิชย์

(2) ให้เรียกเก็บค่าจดทะเบียนการโอนและค่าจดทะเบียนการจำนองห้องชุดร้อยละ 0.01 สำหรับกรณีสนับสนุนการซื้อขายห้องชุด ดังต่อไปนี้

(ก) การโอนกรรมสิทธิ์และการจำนองห้องชุดทั้งหมดในอาคารชุดซึ่งจดทะเบียนอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด

(ข) การโอนกรรมสิทธิ์และการจำนองห้องชุดในอาคารชุดซึ่งจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด

(3) ให้เรียกเก็บค่าจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์ประเภทอาคารสำนักงาน ร้อยละ 0.01 สำหรับกรณีสนับสนุนการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ประเภทอาคารสำนักงาน โดยอาคารสำนักงานต้องเป็นอาคารหรืออาคารพร้อมที่ดินที่ได้รับใบอนุญาตให้ก่อสร้างหรือใบรับแจ้งการก่อสร้างเป็นอาคารสำนักงานตามกฎหมายว่าด้วยควบคุมอาคาร

ทั้งนี้ ภายหลังจากมาตรการที่นำเสนอมีผลบังคับใช้ จะมีการออกประกาศที่เกี่ยวข้องต่อไป

มาตรการภาษีที่นำเสนอ จะช่วยลดภาระภาษีอันเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน ส่งเสริมให้เกิดการออมระยะยาวในประเทศมากขึ้น สนับสนุนการประกอบกิจการของวิสาหกิจชุมชนและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตลอดจนกระตุ้นและเร่งรัดการลงทุนของภาคเอกชนให้สอดคล้องกับการส่งเสริมให้เกิดปีแห่งการลงทุน (Investment Year) อันจะช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นและฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาวต่อไป

ในส่วนผลกระทบรายได้ภาครัฐ คาดว่าจะทำให้รายได้ภาษีอากรลดลงในปีแรก แต่จากการที่เศรษฐกิจขยายตัว ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น มีการใช้จ่ายด้านอุปโภคบริโภค และมีการเร่งรัดการลงทุนในส่วนของภาคเอกชน ก็จะทำให้รัฐจัดเก็บภาษีประเภทต่างๆ ได้เพิ่มขึ้นทางหนึ่ง

_____________________



กรมสรรพากร
โทร. (02) 272-8260
 
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
· ข้อมูลเพิ่มเติม News
· เสนอข่าวโดย JENA


เรื่องที่นิยมอ่านมากสุด News:
Program HR News : เงินได้อะไรบ้างที่ต้องเสียภาษี

คะแนนของบทความ
คะแนนเฉลี่ย: 1
จำนวนผู้ลงคะแนน: 1


โปรดสละเวลาให้คะแนนสำหรับบทความนี้:

สุดยอด
ดีมาก
ดี
ธรรมดา
แย่

ส่วนเพิ่ม

 หน้าเอกสารสำหรับเครื่องพิมพ์ หน้าเอกสารสำหรับเครื่องพิมพ์

หัวข้อเรื่องที่เกี่ยวข้อง

News

เสียใจบทความนี้ไม่มีข้อเสนอแนะ

Our Partners

          

โปรแกรมบัญชี เงินเดือน ERP MRP PayRoll Software Accounting HRM Job Cost การผลิต Consult ปรึกษา
บริษัท เจน่า เดอะ เธิร์ด จำกัด
144/24 ชั้น 6, คลองจั่นเพลส อาคาร เอ, ถ.เสรีไทย คลองจั่น บางกะปิ กทม. 10240
โทรศัพท์ 02-728-6700 (Auto) แฟกซ์ 02-733-2126 Hotline: 081-838-5948


Web Engine by PHP-Nuke & ThaiNuke
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.08 วินาที